วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

ท่าพื้นฐานกีฬาปันจักสีลัต

1.ท่าปาซัง

2.ท่าปาซังท่าที่ ๑-๘

3.ท่าชก หรือ ท่าต่อย

4.ท่าถีบ



5.ท่าเตะข้าง หรือ ท่าไซร์คิก

6.ท่าเตะ (ในการร่ายรำ)

7.ท่าดัน

8.ท่าป้องกัน

9.ท่ากวาดหน้า

10.ท่ากวาดหลัง



ระบบการให้คะแนน

การให้คะแนน สำหรับการแข่งขันจากเทคนิคของการต่อสู้ มีดังนี้

              1. กระทำถูกเป้าหมายด้วยการใช้มือ โดยคู่ต่อสู้ไม่ได้ป้องกัน ได้ 1 คะแนน




              2. การกระทำถูกเป้าหมายด้วยการใช้เท้า โดยคู่ต่อสู้ไม่ได้ป้องกัน ได้ 2 คะแนน



              3. ใช้เทคนิคการทำให้ล้ม มีผลทำให้การล้มสมบูรณ์ ได้ 3 คะแนน



              
              4. หลบหลีก ป้องกันแล้วโต้ตอบในทันทีทันใดนั้นจะให้คะแนน 1 คะแนนแล้วบวกด้วยคะแนนจากการโต้ตอบด้วยการเข้ากระทำตามเทคนิคที่ใช้ คือ ใช้มือจะได้ 1+1 ใช้เท้าหรือขาได้คะแนน 1+2 คะแนน และถ้าโต้ตอบด้วยการกระทำให้คู่ต่อสู้ล้มอย่างสมบูรณ์จะได้คะแนน 1+3

ระบบการให้คะแนนการลงโทษ

               1. เมื่อผู้แข่งขันได้รับการเตือน ครั้งที่ 1 จะถูกหัก -1 คะแนน

               2. เมื่อผู้แข่งขันได้รับการเตือนครั้งที่ 2 จะถูกหัก -2 คะแนน

               3. เมื่อผู้แข่งขันได้รับการตำหนิโทษครั้งที่ 1จะถูกหัก -5 คะแนน

               4. เมื่อผู้แข่งขันได้รับการตำหนิโทษครั้งที่ 2 จะถูกหัก -10 คะแนน



แหล่งที่มา ;https://hilight.kapook.com/view/122113

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สนามและอุปกรณ์การแข่งขัน

                1.สนามการแข่งขัน
               - สนามแข่งขันสามารถจัดบนพื้นหรือเวที ที่มีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร ซึ่งต้องปูพื้นด้วยเบาะ ที่มีลักษณะราบเรียบไม่ยืดหยุ่น มีความหนาไม่เกิน 3-5 เซนติเมตร แล้วจึงปูทับด้วยแผ่นวัสดุที่ไม่ลื่น

               - สังเวียนที่ทำการแข่งขัน (Competition Ring) มีลักษณะเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เมตร โดยผู้แข่งขันต้องแข่งขันกันภายในวงกลมนี้

               - เส้นแบ่งเขตระหว่างสนามแข่งขันกับสังเวียนที่ทำการแข่งขัน มีลักษณะเป็นเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร สีของเส้นแบ่งเขตจะต้องเป็นสีที่ตัดกับสีของพื้นที่สนามการแข่งขัน

               - ตรงกลางของสังเวียนที่ทำการแข่งขัน ประกอบด้วยวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร และเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร วงกลมนี้จะเป็นเส้นแยกให้ผู้แข่งขันทั้งสองอยู่ห่างกันก่อนเริ่มต้นของการแข่งขัน

               - มุมของนักกีฬาทั้งสองฝ่าย จะตั้งอยู่ในมุมทแยงนอกสังเวียนของสนามที่ใช้ทำการแข่งขันมี โดยมีมุมสีแดงและมุมน้ำเงิน





               2. อุปกรณ์การแข่งขัน

               - การแต่งกายชุดปันจักสีลัต นักกีฬาจะสวมใส่ชุดปันจักสีลัต ซึ่งคล้ายกับชุดยูโด สีดำและสายคาดเอว โดยฝ่ายหนึ่งจะเป็นสีแดง อีกฝ่ายจะเป็นสีน้ำเงิน และนักกีฬาต้องสวมเกราะป้องกันลำตัวที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด ซึ่งมีขนาด S, M, L, XL และ XXL รวมทั้งต้องใส่กระจับทั้งชายและหญิงก่อนลงสนามทุกครั้ง นอกจากนี้ยังอนุญาตให้สวมสนับแขน ขา และใส่ฟันยางได้

               - การติดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ตราสมาคมควรติดไว้ที่หน้าอกด้านซ้าย ตราสมาสัมพันธ์ปันจักสีลักไว้หน้าอกด้านขวา ธงชาติติดไว้ที่แขนขวาและตราผู้สนับสนุนต่าง ๆ ที่แขนด้านซ้ายแต่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร และเครื่องหมายต้องไม่ใหญ่กว่าตราสมาพันธ์ปันจักสีลัต ส่วนชื่อประเทศควรติดไว้ด้านล่างข้างหลัง และห้ามสวมใส่เครื่องประดับต่าง ๆ ก่อนลงสนามทุกครั้ง










แหล่งที่ของข้อมูล   http://hilightad.kapook.com/view/122113

กติกาการแข่งขันกีฬาปันจักสีลัต

กติกาในการแข่งขัน

               - ผู้แข่งขันหันหน้าเข้าหากันและใช้ศิลปะการต่อสู้ โดยนักกีฬาปันจักสีลัตจะต้องเข้ากระทำเป้าหมาย เช่น การปัดป้อง การหลบหลีก การเข้าทำ การทำให้ล้ม เป็นต้น ซึ่งผู้แข่งขันต้องยอมรับในหลักการของปันจักสีลัต และต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อห้ามต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้

               - การรุก (Offensive) และการรับ (Defensive) จะต้องเริ่มจากท่าเตรียมพร้อม (Bersidia) แล้วใช้กลวิธีของการจับคู่ ต่อจากนั้นให้ก้าวเท้าหาคู่ต่อสู้แล้วใช้ท่าของการทำหรือการป้องกันให้สัมพันธ์กันและหลังจากทำเสร็จสิ้นแล้ว ผู้แข่งขันต้องเข้าสู่ท่าเตรียมหรือท่าจับคู่

               - การเข้าโจมตีแต่ละชุดต้องทำตามลำดับ โดยใช้วิธีการเข้าทำหลาย ๆ วิธี เพื่อให้ถึงเป้าหมาย แต่ไม่เกินชุดละ 6 ครั้งต่อเนื่อง และท่าของการเข้าทำนั้นจะต้องไม่ซ้ำติดต่อกัน จึงจะได้คะแนนรวมจากการกระทำทั้งหมด เช่น การเข้าทำโดยใช้มือที่มีลักษณะการเข้าทำเหมือนกันติดต่อกันสองครั้งจะได้คะแนนเท่ากับทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

               - นักกีฬาสามารถโจมตีคู่แข่งขัน ไปยังเป้าหมายอย่างทันทีทันใดด้วยเท้าหรือมือได้ 1 ครั้ง

               - หากเท้าของนักกีฬา ไม่ว่าจะเท้าข้างใดข้างหนึ่งก้าวพ้นเส้นออกมา กรรมการจะนับว่าออกทันที


 ระยะเวลาในการแข่งขัน

               - ระดับก่อนยุวชน ยุวชน และระดับอาวุโส การแข่งขันแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ยก ยกละ 1.30 นาที การพักระหว่างยกใช้เวลา 1 นาที ใช้เวลาทำการแข่งขัน 1.30นาที ไม่รวมเวลาที่มีการหยุดระหว่างการแข่งขัน

               - ระดับเยาวชน และระดับประชาชน การแข่งขันแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ยก ยกละ 2 นาที การพักระหว่างยกใช้เวลา 1 นาที ใช้เวลาทำการแข่งขัน 2 นาที ไม่รวมเวลาที่มีการหยุดระหว่างการแข่งขัน

เป้าหมายในการโจมตีคู่ต่อสู้ มีดังนี้

               - อก

               - ท้อง (บริเวณลำตัวเหนือขึ้นไป)

               - ด้านข้างซ้าย ขวาของเอว

               - บริเวณหลัง (ห้ามโจมตีที่กระดูกสันหลัง)


               - ขา (ตั้งแต่ข้อเท้าลงไป) ไม่ใช่เป้าหมาย แต่สามารถเข้าทำได้เพื่อให้ได้คะแนนจากการกระทำให้อีกฝ่ายล้มได้



ข้อห้าม

               - ห้ามเอานิ้วมือแทงตาคู่ต่อสู้เพราะต่างไม่สวมนวม

               - ไม่กำมือแน่นอย่างชกมวยไทยหรือมวยสากล

               - ห้ามบีบคอ ห้ามต่อยแบบมวยไทย เช่น ใช้ศอก และเข่า

แหล่งที่ของข้อมูล   http://hilightad.kapook.com/view/122113


ประโยชน์และประเภทของกีฬาปันจักสีลัต

ปันจักสีลัตแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
               1. การต่อสู้ (Tanding)

               เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน นักกีฬาทั้งคู่จะทำความเคารพกันและกัน เรียกว่า สาลามัต โดยการสัมผัสมือแล้วแตะที่หน้าผาก จากนั้นจึงเริ่มร่ายรำด้วยท่าต่าง ๆ ตามศิลปะสิละ แล้วค่อยโจมตีคู่ต่อสู้ที่ต้องใช้เทคนิค กลยุทธ์ ความแข็งแกร่ง ความอดทน ประกอบรวมกันทำให้คู่ต่อสู้ล้ม

               ซึ่งในบางครั้งนักกีฬาจะกระทืบเท้าให้เกิดเสียงหรือใช้ฝ่ามือตีที่ต้นขาของตนเอง เพื่อให้เกิดเสียงข่มขวัญคู่ต่อสู้ ในการต่อสู้อาจมีการลองเชิงดูท่าทางอีกฝ่ายก่อนหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ ซึ่งสามารถใช้มือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงข้าม หรือโจมตีอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้อีกฝ่ายล้มลงหรืออาศัยการตัดสินจากผู้ดูรอบสนามว่าเป็นเสียงปรบมือให้ฝ่ายใดดังกว่า จะถือว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ




               2. ประเภทเดี่ยวปันจักลีลา (Tunggal)

               การแข่งขันประเภทร่ายรำการต่อสู้แบบเดี่ยว จะใช้นักกีฬา 1 คน ซึ่งจะมีท่าเฉพาะในการแข่งขัน 100 กระบวนท่า สามารถเล่นด้วยมือเปล่า หรือ ใช้มีด (Golok) และกระบอง (Tongkat) และในการแข่งขันจำเป็นต้องใช้ความชำนาญในการร่ายรำเพื่อให้กระบวนท่าถูกต้องและมีความชัดเจนจึงจะได้คะแนน




               3. ประเภทคู่ปันจักลีลา (Ganda)

               การแข่งขันประเภทร่ายรำการต่อสู้แบบคู่ จะใช้นักกีฬาลงแข่งขันทีมละ 2 คน ไม่มีท่าบังคับ โดยการแสดงจะใช้กระบวนท่าต่อสู้ และใช้เทคนิคการต่อสู้ผสมผสานกับการป้องกันตัว ใช้มือเปล่าในการเล่นหรือใช้อาวุธ 3 ชนิด คือ มีด, กระบอง และอาวุธอีกหนึ่งประเภท ซึ่งสามารถเลือกได้คือ กรีซ (Keris) มีดสั้น (Pisau) เคียว (Celurit) และไตรซูล่า (Trisura) ตามความชำนาญของผู้ใช้




               4. ประเภททีมปันจักลีลา (Rega)


การแข่งขันประเภททีม จะใช้นักกีฬาลงแข่งขัน ทีมละ 3 คน ในการแข่งขันจะมีท่าเฉพาะ 100 กระบวนท่า ซึ่งจะเล่นด้วยมือเปล่าเพียงอย่างเดียวหรือใช้อาวุธก็ได้ โดยกระบวนท่าจะเน้นความถูกต้อง ความพร้อมเพียง ความแข็งแรงของกระบวนท่าสีหน้าและท่าทางการออกอาวุธในแต่ละกระบวนท่าของผู้แข่งขัน





ประโยชน์ของกีฬา ปันจักสีลัต

            ๑. ระบบหมุนเวียนโลหิต กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและสามารถทำงานได้ดีขึ้น
            ๒. ระบบหายใจ ถุงลมหด และขยายยืดตัวได้ดี ปอดแข็งแรง
            ๓. ระบบกล้ามเนื้อ แข็งแรง
            ๔. ระบบโครงกระดูก กระดูกข้อต่อแข็งแรง ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดี



แหล่งที่ของข้อมูล   http://hilightad.kapook.com/view/122113

ประวัติศิลปะการต่อสู้ปันจักสีลัต


ประวัติกีฬาปันจักสีลัต

               กีฬาปันจักสีลัต เป็นกีฬาประจำชาติของประเทศบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) โดยปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซีย มาจากคำว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมายถึงศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง เดิมทีกีฬาประเภทนี้เป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สิละ, ดีกา หรือ บือดีกา เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม ท่ารำกำเนิดจากช่อดอกบอมอร์ในกระแสน้ำวน


ตำนานการเกิดของสิละ



               ทั้งนี้ มูบิน เชปปาร์ค (Mubin Shepard) นักประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่า การต่อสู้แบบสิละมีจุดกำเนิดที่เกาะสุมาตราตั้งแต่ 400 ปีมาแล้ว แต่ต่อมาผู้สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัยจนเป็นที่สนใจแพร่หลาย โดยตามตำนานกล่าวว่า มีคน 3 คนเป็นเพื่อนกัน สืบเชื้อสายสุมาตรา คือ บูฮันนุดดิน, ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน ได้เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ที่สำนักวิทยายุทธ ซึ่งอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่

              วันหนึ่ง ฮามินนุดดิน ได้ไปตักน้ำที่สระน้ำแห่งนั้นและได้สังเกตเห็นกระแสน้ำที่ไหลมาจากหน้าผาสูงลงมาในสระ โดยมีดอกบอมอร์ช่อหนึ่งหล่นจากต้นลงมากลางสระกระทบน้ำในสระกลายเป็นระลอกคลื่น หมุนเวียนสวยงาม จากนั้นจึงค่อย ๆ ไหลย้อนกลับไปใกล้ตลิ่งแล้วลอยไปลอยมา เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิต จิตใจ ทำให้ฮามินนุดดินทึ่งในสิ่งที่เห็นและได้นำดอกบอมอร์ติดตัวกลับไป พร้อมนำลีลาการลอยของดอกบอมอร์ไปประยุกต์ใช้กับท่าร่ายรำแก่เพื่อนอีก 2 คน เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ จึงเกิดเป็นวิชาสิละตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา





แหล่งที่ของข้อมูล   http://hilightad.kapook.com/view/122113